อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
บทบาทหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 14 พ.ศ.2562

มาตรา ๕๐ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขต เทศบาล ดังต่อไปนี้

        (๑) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน

        (๒) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ (๒/๑) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริม สนับสนุน หน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

        (๓) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูล ฝอยและสิ่งปฏิกูล

        (๔) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ

        (๕) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง

         (๖) จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และการฝึกอบรม ให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก

        (๗) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

        (๘) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

        (๙) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของ ประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ จัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการ ปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการ นั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด๘๙

 

มาตรา ๕๑ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใด ๆ ในเขต เทศบาล ดังต่อไปนี้

         (๑) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา

         (๒) ให้มีโรงฆ่าสัตว์

         (๓) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม

         (๔) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน

         (๕) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร

         (๖) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้

         (๗) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

         (๘) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ

         (๙) เทศพาณิชย์

การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะของเทศบาล ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการ สาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ 

(1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 
(2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ 
(3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ 
(4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ 
(5) การสาธารณูปการ 
(6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ 
(7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน 
(8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว 
(9) การจัดการศึกษา 
(10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 
(11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 
(12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 
(13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 
(14) การส่งเสริมกีฬา 
(15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 
(16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 
(17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 
(18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย 
(19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล 
(20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน 
(21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ 
(22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ 
(23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ 
(24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
(25) การผังเมือง 
(26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร 
(27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ 
(28) การควบคุมอาคาร 
(29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 
(30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 
(31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด 

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

  กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ

   เป็นประหนึ่งคลังสมองของเทศบาล มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น แผนดำเนินงาน และจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและยุทธศาสตร์ชาติ ดูแลให้บริการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และข่าวสารท้องถิ่น 

 

    ​กองสวัสดิการสังคม

    สภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนชาวตำบลพะตง เป็นสิ่งที่ทางเทศบาลให้ความสำคัญและเป็นห่วงเป็นใยอย่างยิ่ง จึงจัดตั้งกองสวัสดิการสังคมขึ้นเพื่อดูแลส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชน และให้การสงเคราะห์ผู้ขาดแคลนไร้ที่พึ่ง ผู้ประสบภัย ดูแลสวัสดิภาพเด็กและเยาวชนให้การสนับสนุน และส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่ชุมชนและประชาชนตลอดถึงส่งเสริมพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลพะตง ให้เป็นชุมชนที่พึ่งตนเองได้โดยมี

  - งานสังคมสงเคราะห์ ดูแลเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือประชาชน ผู้ทุกข์ยาก

 -  งานพัฒนาชุมชน ดูแลเกี่ยวกับการทำงานด้านการพัฒนาชุมชนด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ตลอดถึงงานกองทุน งานออมทรัพย์และสนับสนุนสงเสริมการประกอบอาชีพของชุมชนเมือง