ลักษณะที่ตั้ง/อาณาเขต สำนักงานเทศบาลตำบลพะตง ตั้งอยู่ ณ 25 ถนนเทศบาล 4 ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประกอบด้วยพื้นที่ 6.68 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 บางส่วน และหมู่ที่ 8 บางส่วน ของตำบลพะตง โดยมรอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลบ้านไร่ อำเภอหาดใหญ่
ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลพังลา อำเภอสะเดา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง
อยู่ห่างจากอำเภอหาดใหญ่ ประมาณ 20 กิโลเมตร
อยู่ห่างจากจังหวัดสงขลา ประมาณ 50 กิโลเมตร
และมีถนนกาญจนวนิชเป็นถนนสายหลัก เส้นทางสายนี้ถือเป็นถนนสายเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดสงขลาและประเทศไทย เพราะเป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างประเทศมุ่งสู่ประเทศมาเลเซีย ด้านรัฐเคดาห์(ด่านสะเดา และด่านปาดังเบซาร์)
ลักษณะภูมิประเทศ เทศบาลตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลาดต่ำจากทิศตะวันออก ไปทิศตะวันตกมีลำคลองไหลผ่านจากทิศตะวันออก ไปทางทิศตะวันตกลงสู่คลองอู่ตะเภา ซึ่งเป็นแนวเขตเทศบาล จำนวน 5 คลอง คือ คลองหินเหล็กไฟ คลองแทงแม่ คลองตง คลองประตู และคลองช้างตาย ลำคลองทั้ง 6 สาย มีสภาพคดเคี้ยวมากทำให้เมื่อฝนตกหนักติดต่อกันจะเกิดปัญหาน้ำท่วมโดยเฉพาะในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ของทุกปี
ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่แบ่งออกเป็นสองลักษณะ คือ
ด้านทิศตะวันออก เมื่อมีฝนตกบริเวณบ้านควนเนียง อบต.พะตง น้ำจะไหลลงสู่คลองสาขาต่าง ๆ เพื่อระบานลงสู่คลองอู่ตะเภา ถ้ามีปริมาณมากจะเป็นน้ำป่าไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่เทศบาล ซึ่งน้ำจากคลองตงจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม พื้นที่ประสบภัย คือ ชุมนประธานคีรีวัฒน์ ชุมชนต้นลุง ชุมชนสวนสุขภาพและชุมชนตลาด ประชาชนได้รับความเดือดร้อนประมาณ 4,000 น และโรงเรียน 4 แห่ง คือ โรงเรียนวัดทุ่งลุง โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ โรงเรียนพะตงวิทยามูลนิธิ และโรงเรียนเทศบาล 1 (ชุมชนบ้านอุดมทอง) นักเรียนประมาณ 6,500 คน
ด้านทิศตะวันตก เทศบาลมีคลองอู่ตะเภาเป็นแนวเขตด้านทิศตะวันตก เมื่อมีฝนตกด้านทิศใต้บริเวณอำเภอสะเดา น้ำจะไหลลงสู่คลองอู่ตะเภาซึ่งไหลผ่านพื้นที่เทศบาลก่อนเข้าสู่ อำเภอหาดใหญ่ ซึ่งเมือฝนตกหนักน้ำในคลองอู่ตะเภาไหลไม่ทันจึงล้นตลิ่งขึ้นท่วมบ้านเรือนประชาชน พื้นที่ประสบภัยคือ บริเวณชุมชนตลาด ชุมชนบ้านย่านยาวออก บริเวณริมคลองอู่ตะเภา ผู้ประสบภัยประมาณ 2,000 ครัวเรือน ประชาชนประมาณ 5,000 คน
ลักษณะภูมิอากาศ เทศบาลตำบลพะตงอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ กลางวันอากาศไม่ร้อนจัด มีอากาศค่อนข้างเย็นในเวลากลางคืน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมทะเล มีภูเขาล้อมรอบ ตั้งอยู่บนเส้นละติจูด(เส้นรุ้ง)ที่ 6 - 50 - 45 N และเส้นลงติจูดที่ 100- 28 -32 E ประกอบด้วยลักษณะภูมิอากาศแบ่งเป็น 2 ฤดูคือ ฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกจะเริ่มตังแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม และช่วงที่ 2 เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีระหว่าง 24C - 33C ความชื้นสัมพัทธ์โดยเฉลี่ย 80%